สอบตำรวจหญิง อัปเดตปีล่าสุด

สอบตำรวจหญิง ช่วงไหน เตรียมตัวอย่างไรดี

ความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นตำรวจนั้นไม่ใช่ความใฝ่ฝันที่จะมีเพียงแค่ผู้ชายเท่านั้น แม้แต่ผู้หญิงบางคนก็ยังมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้หญิงที่อยากจะเป็นตำรวจก็อาจจะยังมีข้อสงสัยมากมายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ 

และในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาในการเปิดสอบ วันเวลาที่มีการสอบ ตำแหน่งที่มีการเปิดสอบ อีกทั้งยังรวมไปถึงรายละเอียดและข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยในการเตรียมตัวสอบตำรวจหญิง

สอบตำรวจหญิง ช่วงไหน เตรียมตัวอย่างไรดี

สมัครสอบตำรวจหญิง ประจำปี 2565

ในการสมัครสอบตำรวจหญิงประจำปี 2565 นั้นมีการรับสมัครในตำแหน่งใดบ้าง แต่ละตำแหน่งเปิดรับกี่อัตรา และมีรายละเอียดหรือเกณฑ์ในการสมัครอะไรบ้าง ในหัวข้อนี้เราจะมาแจ้งให้ได้รู้กัน

ตำแหน่ง ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 4 กก.ควบคุมฝูงชน 1 และ 2 บก.อคฝ.บช.น

ซึ่งมีการเปิดรับจำนวน 100 อัตรา โดยมีเกณฑ์ในการสมัครสอบตำรวจหญิงดังนี้

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศหญิง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกินกว่า 30 ปีบริบูรณ์
  • มีวุฒิการศึกษา ปวช. หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า
  • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร

ตำแหน่ง ผบ.หมู่ กก.2 บก.สอ.บช.ตชด. และ ผบ.หมู่ กก.3 บก.สอ.บช.ตชด.

โดยตำแหน่ง ผบ.หมู่ กก.2 บก.สอ.บช.ตชด. จะทำหน้าที่กองร้อยควบคุมฝูงชน

ส่วนตำแหน่ง ผบ.หมู่ กก.3 บก.สอ.บช.ตชด. จะทำหน้าที่ชุดถวายความปลอดภัย

ซึ่งมีการเปิดรับจำนวน 200 อัตรา และมีเกณฑ์ในการสมัครสอบตำรวจหญิงดังนี้

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศหญิง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกินกว่า 27 ปีบริบูรณ์
  • มีวุฒิการศึกษา ปวช. หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า
  • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร

ตำแหน่ง ผบ.หมู่ กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน 

โดยตำแหน่ง ผบ.หมู่ กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน จะทำหน้าที่วิทยาการในสังกัด สพฐ.ตร.

ซึ่งมีการเปิดรับจำนวน 20 อัตรา และมีเกณฑ์ในการสมัครสอบตำรวจหญิงดังนี้

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศหญิง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกินกว่า 35 ปีบริบูรณ์
  • มีวุฒิการศึกษา ปวช. หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า
  • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร

ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ (สบ.1) ในสังกัด สพฐ.ตร.

ซึ่งมีการเปิดรับจำนวน 20 อัตรา โดยมีเกณฑ์ในการสมัครสอบตำรวจหญิงดังนี้

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศหญิง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีอายุไม่เกินกว่า 35 ปีบริบูรณ์
  • มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี
  • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร

กำหนดการสอบตำรวจหญิงปี 2565

โดยกำหนดการสอบตำรวจหญิงประจำปี 2565 ที่ผู้สนใจควรจะต้องรู้คือช่วงระยะเวลาในการสมัครสอบ ช่วงเวลาในการสอบ และกำหนดการต่าง ๆ ในการสอบตำรวจหญิง ซึ่งในหัวข้อนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว

  • ตั้งแต่วันที่ 12-30 กันยายน 2565 : มีการเปิดรับสมัครสอบตำรวจหญิง ซึ่งผู้สนใจสามารถสมัครสอบได้ทางอินเทอร์เน็ต
  • ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 : มีการประกาศรายชื่อผู้สมัครให้เข้าสอบข้อเขียน วัน เวลา และสถานที่ในการสอบข้อเขียน
  • ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 : มีการประกาศรายชื่อผู้สมัครให้เข้าสอบข้อเขียน วัน เวลา สถานที่ในการสอบข้อเขียน ผังที่นั่งสอบ อาคาร ห้องสอบ และแถวสอบ
  • ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 : สอบข้อเขียน ช่วงเวลาในการสอบคือ 13.30-16.30 น. โดยผู้เข้าสอบจะต้องมาเข้าห้องสอบภายในเวลา 11.30-13.15 น. เท่านั้น

สอบตำรวจหญิงต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใช้วุฒิอะไร

ในการสอบตำรวจหญิงแต่ละตำแหน่งก็จะมีการใช้วุฒิการศึกษา และคุณสมบัติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป โดยในหัวข้อนี้เราจะแบ่งออกตามวุฒิการศึกษาให้ดูกัน ว่าสามารถสอบตำรวจหญิงในตำแหน่งหรือสายไหนได้บ้าง และต้องมีคุณสมบัติใด

วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า

  1. นายสิบตำรวจหญิงสายอำนวยการ
    • คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี 
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
  2. นายสิบตำรวจหญิงสายอำนวยการพิสูจน์หลักฐาน
    • คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี 
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
  3. นายสิบตำรวจหญิงสายเทคนิค
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี 
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
      • รับสายอาชีพเท่านั้น ไม่รับสายสามัญ
  4. นายสิบตำรวจหญิงสายตรวจคนเข้าเมือง
    • คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี 
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
  5. นายสิบตำรวจหญิงสายพลร่ม
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 27 ปี
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • สายตาปกติ และตาไม่บอดสี
  6. นายสิบตำรวจหญิงสายปราบปราม
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 27 ปี
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • สายตาปกติ และตาไม่บอดสี
    •  

วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี

  1. นายร้อยตำรวจหญิงสายสอบสวน
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี 
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
      • วุฒิปริญญาตรี นิติศาสตร์
  2. นายร้อยตำรวจหญิงสายพิสูจน์หลักฐาน (นักวิทยาศาสตร์)
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
      • วุฒิปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ , เคมี หรือจุลชีวะ
  3. นายร้อยตำรวจหญิงสายบัญชี
    •  คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
      • วุฒิปริญญาตรี บัญชี
  4. นายร้อยตำรวจหญิงสายประมวลผล
    • คุณสมบัติ
      • อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่มากกว่า 35 ปี
      • มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
      • ค่า BMI ไม่เกิน 35
      • ตาไม่บอดสี
      • วุฒิปริญญาตรี คอมพิวเตอร์



สอบตำรวจหญิงต้องมีสอบอะไรบ้าง

สำหรับการสอบตำรวจหญิงจะมีการสอบแบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้

สอบข้อเขียน

ในการสอบข้อเขียนจะเป็นการสอบแบบปรนัย จำนวน 150 ข้อ โดยในการสอบตำรวจหญิงแต่ละสายก็จะมีวิชาในการสอบที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ข้อสอบตำรวจหญิงสายปราบปราม
    • วิชาความสามารถทั่วไป (40 ข้อ)
    • วิชาภาษาไทย (20 ข้อ)
    • วิชาภาษาอังกฤษ (25 ข้อ)
    • วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (25 ข้อ)
    • วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (25 ข้อ)
    • กฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารจัดการบ้านเมือง (15 ข้อ)
  2. ข้อสอบตำรวจหญิงสายอำนวยการ
    • วิชาความสามารถทั่วไป (30 ข้อ)
    • วิชาภาษาไทย (30 ข้อ)
    • วิชาภาษาอังกฤษ (25 ข้อ)
    • วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (35 ข้อ)
    • วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (15 ข้อ)
    • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารจัดการบ้านเมือง (15 ข้อ)
  3. ข้อสอบตำรวจหญิงสายพิสูจน์หลักฐาน
    • วิชาความสามารถทั่วไป (35 ข้อ)
    • วิชาภาษาไทย (25 ข้อ)
    • วิชาภาษาอังกฤษ (35 ข้อ)
    • วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสำนักงาน (30 ข้อ)
    • วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (25 ข้อ)
  4. ข้อสอบตำรวจหญิงสายตรวจคนเข้าเมือง
    • วิชาความสามารถทั่วไป (15 ข้อ)
    • วิชาภาษาไทย (15 ข้อ)
    • วิชาภาษาอังกฤษ (15 ข้อ)
    • วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (10 ข้อ)
    • วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (20 ข้อ)
    • วิชา พรบ.ตรวจคนเข้าเมือง (50 ข้อ)
    • วิชา พรบ.ตำรวจแห่งชาติ (10 ข้อ)
    • วิชางานสารบรรณ (15 ข้อ)

และเมื่อเรารู้รายวิชาที่จะมีการสอบตำรวจหญิงในแต่ละสายแล้ว เราก็จะสามารถมองหาแนวข้อสอบตำรวจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สอบสมรรถภาพทางกาย

ส่วนการสอบสมรรถภาพทางกายของการสอบตำรวจหญิงก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละสายเช่นเดียวกัน

  1. การทดสอบสมรรถภาพทางกายของตำรวจหญิงสายปราบปราม
    • การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร : ภายในเวลา 13 วินาที
    • การวิ่งระยะไกล 800 เมตร : ภายในเวลา 5 นาที
    • การวิ่งเก็บของระยะทาง 10 เมตร : ภายในเวลา 15 วินาที
    • การว่ายน้ำ 25 เมตร : ภายในเวลา 50 วินาที
    • การยืนกระโดดไกล : ไม่น้อยไปกว่า 120 เซนติเมตร 
  2. การทดสอบสมรรถภาพทางกายของตำรวจหญิงสายอำนวยการ
    • การว่ายน้ำ 25 เมตร : ภายในเวลา 50 วินาที
    • การวิ่ง 800 เมตร : ภายในเวลา 5 นาที
  3. การทดสอบสมรรถภาพทางกายของตำรวจหญิงสายพิสูจน์หลักฐาน
    • การว่ายน้ำ 50 เมตร : ภายในเวลา 3 นาที
    • การวิ่ง 1,000 เมตร : ภายในเวลา 7 นาที

ส่วนตำรวจหญิงสายตรวจคนเข้าเมืองนั้นจะไม่มีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ตำแหน่งและหน้าที่โดยทั่วไปของตำรวจหญิง

การเป็นตำรวจหญิงนั้นมีอยู่หลายตำแหน่งด้วยกัน ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็จะมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยในหัวข้อนี้เราจะมาอธิบายให้ได้รู้และเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ 

  1. พนักงานสอบสวน : มีหน้าที่รับแจ้งความ ทำการสอบสวนคดี และส่งฟ้องต่ออัยการ
  2. พนักงานสืบสวน : มีหน้าที่ติดตามและจับกุมคนร้ายนอกเครื่องแบบ
  3. พนักงานพิสูจน์หลักฐาน : มีหน้าที่สืบหาวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อหาสาเหตุและจับกุมคนร้าย
  4. พนักงานจราจร : มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน
  5. พนักงานป้องกันและปราบปราม : มีหน้าที่ตรวจตราพื้นที่ ป้องกันและระงับเหตุการณ์ร้ายแรง รวมถึงจับกุมคนร้าย
  6. ตำรวจควบคุมฝูงชน : มีหน้าที่ควบคุมและดูแลความสะดวกของฝูงชน
  7. ตำรวจท่องเที่ยว : มีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ 
  8. ตำรวจตระเวนชายแดน : มีหน้าที่ดูแลและป้องกันพื้นที่ในเขตชายแดน
  9. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง : มีหน้าที่ป้องกัน สืบสวน และปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ หรือการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
  10. ตำรวจฝ่ายอำนวยการ : มีหน้าที่จัดการงานเอกสารต่าง ๆ และสนับสนุนการทำงานของตำรวจในทุก ๆ หน่วยงาน

ถึงแม้ในตอนนี้ได้เริ่มเปิดรับสมัครสอบตำรวจหญิงแล้ว แต่ก็ยังมีเวลาในการเตรียมตัวก่อนสอบอีกมาก ซึ่งทางเราก็ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นตำรวจหญิงทุก ๆ คนประสบความสำเร็จและได้ทำตามความฝัน 

แต่ถ้าหากผู้ใดที่ต้องการเสริมความมั่นใจในการสอบตำรวจหญิง ทางเราก็มีบริการให้คำปรึกษา อีกทั้งยังมีบริการติวสอบตำรวจสายต่าง ๆ อีกด้วย โดยผู้ใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ทาง Facebook : GovEntrance Police ติวสอบตำรวจ หรือทางเว็บไซต์ https://www.goventpolice.com

Top