พรบ ตำรวจ คือ กฎหมายว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจทั้งปวง ตั้งแต่เข้าเป็นข้าราชการตำรวจจนออกจากข้าราชการตำรวจ เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การกำหนดชั้นยศและตำแหน่ง เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มอื่น ๆ วินัยข้าราชการตำรวจ การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และเครื่องแบบตำรวจ เป็นต้น รวมถึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 ส่งผลให้พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในวันถัดไป คือ 17 ตุลาคม 2565 โดยทันที
พรบ ตำรวจแห่งชาติฉบับล่าสุดมีการปรับปรุงอะไรบ้าง
พรบตำรวจแห่งชาติฉบับล่าสุดนี้ หัวใจสำคัญของตำรวจคือ การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่มีกฎนับอายุ ครองยศ อาวุโส ออกมาใหม่ แล้วบรรจุเข้าเป็นกฎหมายชัดเจน จะเปลี่ยนง่าย ๆ เหมือนอดีตไม่ได้แล้ว แต่เฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจยังสามารถใช้กฎเกณฑ์เดิมไปอีก 180 วัน เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับข้าราชการตำรวจที่กำลังเข้าสู่วาระการแต่งตั้งประจำปี
นอกจากการปรับปรุงเรื่องการแต่งตั้งแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับงานจราจรด้วยเช่นกัน งานจราจรที่อยู่กับหน่วยงานตำรวจนั้น จะมิใช่แค่การโบกรถ อำนวยการจราจร แต่จะมีเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายการลดปริมาณอุบัติเหตุ ป้องกันปราบปราม กวดขันวินัยการจราจรที่เกิดอยู่บนถนน
อีกทั้งยังมีการกำหนดสายงานตำรวจที่ชัดเจน ให้การเจริญเติบโตกับพนักงานสอบสวน ให้งานสอบสวนมีอิสระ ปราศจากการแทรกแซง ให้เจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ในระบบเลื่อนไหล มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชตำรวจ “ก.พ.ค.ตร.”คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ “ก.ร.ตร.” ที่อาจเป็น “คนนอก” มานั่งในคณะกรรมการ
มีบทห้ามมิให้ข้าราชการตำรวจที่สังกัดสถานีตำรวจไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการอื่นที่มิใช่สถานีตำรวจเว้นแต่คำสั่งนั้นจะสั่งให้ข้าราชการตำรวจอื่นมาปฏิบัติหน้าที่นั้นแทนในสถานีตำรวจนั้น
เพื่อให้การตรวจสอบแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด ให้จัดส่งเอกสารให้ สตง. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของกองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้หน่วยจัดสรรและหน่วยบริหารเงินกองทุนทุกหน่วยยุติการเบิกจ่ายเงินภายใน 17 ตค. 65
พรบ ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่นี้ ได้กำหนดให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจเป็นไปตามระบบคุณธรรม และให้ข้าราชการตำรวจประพฤติปฎิบัติตนเหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของตำรวจ และอยู่ในจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ระบุข้าราชการตำรวจใหม่มีทั้งยศ และไม่มียศ พร้อมบัญชีอัตราเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งใหม่
มีการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้เข้าอันดับและชั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้น หรือชั้นและชั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา 99 กำหนดให้ข้าราชการตำรวจได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของระดับนั้น ๆ ดังต่อไปนี้ (จะกล่าวในที่นี้ถึงประเภทบริหารระดับสูง และกลางเท่านั้น สามารถหาดูแบบเต็ม ๆ ได้ที่ พรบ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับล่าสุด ฉบับสมบูรณ์) ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร.
- ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งขาติ ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับ ส.9
- ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอก รับเงินเดือนระดับ ส.8
- ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจโท รับเงินเดือนระดับ ส.7
- ข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรี รับเงินเดือนระดับ ส.6
- ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) รับเงินเดือนระดับ ส.5
- ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก รับเงินเดือนระดับ ส.4
- ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท รับเงินเดือนระดับ ส.3
- ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจตรี รับเงินเดือนระดับ ส.2
43.5 | 54,820 | ||||||||
ขึ้นไป | |||||||||
3.0 | 33,770 | 38,490 | 21,240 | 24,960 | 29,280 | 33,360 | 39,090 | 43,250 | |
2.5 | 33,470 | 38,060 | 20,790 | 24,400 | 28,560 | 32,530 | 38,060 | 42,390 | |
2.0 | 33,360 | 37,690 | 20,320 | 23,830 | 27,850 | 33,650 | 37,060 | 43,340 | |
1.5 | 32,840 | 37,330 | 39,860 | 23,270 | 27,360 | 30,820 | 36,070 | 40,090 | |
1.0 | 32,530 | 36,920 | 39,430 | 22,700 | 26,700 | 29,980 | 35,090 | 39,090 | 78,030 |
ขั้น / ระดับ | ส.1 | ส.2 | ส.3 | ส.4 | ส.5 | ส.6 | ส.7 | ส.8 | ส.9 |
ประเภทบริหาร
ตำแหน่ง | อัตรา (บาท / เดือน) |
บริหารระดับสูง | |
พล.ต.อ., พล.ต.ท. | 21,000 |
พล.ต.ต. | 14,500 |
พ.ต.อ. อัตราเงินเดือน พ.ต.อ.(พิเศษ) | 10,000 |
บริหารระดับกลาง | |
พ.ต.อ. | 5,600 |
ประเภทวิชาชีพเฉพาะ
ตำแหน่ง | อัตรา (บาท / เดือน) |
วช. และ ชช. | |
พล.ต.อ., พล.ต.ท. | 15,600 |
พล.ต.ต. | 13,000 |
พ.ต.อ. อัตราเงินเดือน พ.ต.อ.(พิเศษ) | 9,900 |
วช. | |
พ.ต.อ. | 5,600 |
พ.ต.ท. | 3,500 |
ประเภทวิชาการในโรงเรียนตำรวจ
ตำแหน่ง | อัตรา (บาท / เดือน) |
ศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.อ. อัตราเงินเดือน พ.ต.อ.(พิเศษ) ขึ้นไป | 13,000 |
รองศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.อ. อัตราเงินเดือน พ.ต.อ.(พิเศษ) | 9,900 |
รองศาสราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.อ. และ พ.ต.ท. | 5,600 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.อ. | 5,600 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชั้นยศ พ.ต.ท. และ พ.ต.ต. | 3,500 |
สรุป
จากการที่มีการปรับปรุง พรบ ตำรวจแห่งชาติฉบับล่าสุดในปี 2565 ในหลาย ๆ เรื่องดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อให้เกิดความขอบธรรมในวงการข้าราชการตำรวจ สายงานตำรวจก็ยิ่งน่าสนใจ และสามารถดึงดูดคนจำนวนมากให้อยากสอบเข้าเป็นตำรวจในสายงานต่าง ๆ
ดังนั้นหากมีความต้องการที่จะติวสอบตำรวจ ก็เข้ามารับคำปรึกษาได้ฟรีที่ GovEntrance ที่เป็นสถาบันติวสอบตำรวจออนไลน์ ได้ครบจบในที่เดียว ช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้