อาชีพตำรวจไม่ได้มีแค่หน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเพียงอย่างเดียว อย่างที่รู้กันว่ายังมีแผนกแยกย่อยไปอีกหลายแผนก พนักงานสอบสวนก็เป็นแผนกหนึ่งในแผนกย่อยที่คอยทำหน้าที่รับใช้ประชาชนเช่นกัน แต่ทำไมหลายคนถึงไม่อยากทำหน้าที่นี้กันล่ะ? บทความนี้มีคำตอบให้คุณ ไปอ่านกันเลย!
Table of Contents
Toggleพนักงานสอบสวนคือใคร ทำหน้าที่อะไรบ้าง
เมื่อพูดถึงพนักงานสอบสวน หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก แต่เมื่อพูดถึงร้อยเวรหรือสารวัตรเวรอาจจะร้องอ๋อกันขึ้นมา เพราะพนักงานสอบสวนก็คือตำรวจด่านหน้าที่คอยรับแจ้งความที่โรงพักนั่นเอง
ซึ่งพนักงานสอบสวนจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
- พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ: สามารถสอบสวนได้ทุกประเภทคดีทั่วราชอาณาจักร
- พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง: สามารถสอบสวนได้แค่คดีอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพฯ ตามกฎกระทรวงฯ
นอกจากการรับแจ้งความแล้วพนักงานสอบสวนก็ยังมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อหาข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดตามที่กล่าวหา และนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษนั่นเอง
เผยสาเหตุทำไมบางคนไม่อยากเป็นพนักงานสอบสวน
ความเครียด
แน่นอนว่าเมื่อเป็นด่านหน้ารับการร้องทุกข์จากประชาชน ย่อมเกิดความเครียดและความกดดันได้ง่าย ทั้งต้องคอยไกล่เกลี่ย และรับมือจากแรงปะทะทางอารมณ์ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เวลาที่มีจำกัดในการทำคดี ความยากในการทำงานกับหลายหน่วยงาน เพราะต้องรออนุมัติจากหลายฝ่ายจึงเป็นสาเหตุหลักว่าทำไมพนักงานสอบสวนถึงมีความเครียดมากกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
เพราะปัจจุบันสายงานอื่นสามารถเข้ามาทำตำแหน่งพนักงานสอบสวนได้แล้ว จึงทำเกิดการแข่งขันที่สูงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต พนักงานสอบสวนที่ต้องแข่งขันกันเองจึงมีโอกาสเจริญก้าวหน้ามากกว่า
นอกจากนี้พนักงานสอบสวนที่ต้องคอยรับเรื่องคดี อาจจะยุ่งกับการทำคดี ทั้งต้องลำดับคดีตามผู้บังคับบัญชา บางครั้งคดีอาจเกิดความล่าช้า ที่ไม่ได้เกิดจากตัวพนักงานสอบสวนเอง และยังโดนห้ามไม่ให้โยกย้ายไปช่วยรายการส่วนอื่นเพราะพนักงานสอบสวนนั้นมีน้อย จนต้องเปิดรับสมัครอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้โอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานยากกว่าตำรวจสายงานอื่น ๆ
การถูกร้องเรียนจากผู้เสียประโยชน์
เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ก็ต้องมีผู้เสียประโยชน์ พนักงานสอบสวนมีสิทธิ์ถูกร้องเรียนได้ง่าย หากผู้เสียประโยชน์รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และเมื่อมีการร้องเรียนก็จะส่งผลต่อการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง การแต่งตั้ง หรือแม้กระทั่งการโยกย้าย
แต่ถึงอย่างนั้นก็มีหลายคนที่ยังอยากเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ เพราะการเป็นพนักงานสอบสวนจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางเหมือนกัน สายงานอื่นที่มาทำตำแหน่งนี้มักจะทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับคนที่จบสายงานนี้โดยตรง อีกทั้งเงินเดือนสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้น้อยอย่างที่หลายคนเข้าใจ
เงินเดือนของพนักงานสอบสวนเริ่มที่เท่าไหร่
โดยเงินเดือนเริ่มต้นของเจ้าพนักงานสอบสวนจะเริ่มที่ 15,920 บาท เทียบเท่ากับตำรวจชั้นสัญญาบัตร และจะมีเงินประจำตำแหน่งอีกดังต่อไปนี้
รองสารวัตร: 12,000 บาท (ร้อยตำรวจตรี-ร้อยตำรวจเอก)
สารวัตรสอบสวน: 14,400 บาท (ร้อยตำรวจเอก-พันตำรวจโท)
รองผู้กำกับการสอบสวน: 17,300 บาท (พันตำรวจโท)
ผู้กำกับการสอบสวน: 21,000 บาท (พันตำรวจเอก)
เมื่อรวมเงินเดือนเริ่มต้นกับเงินประจำตำแหน่งของพนักงานสอบสวน ก็จะเริ่มที่ประมาณ 27,920 บาทเลยทีเดียว
อยากเป็นพนักงานสอบสวนต้องเรียนอะไร
สำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนนั้นจะมีการเปิดรับสมัครทั้งบุคคลภายนอกและบุคคลภายใน ซึ่งบุคคลภายนอกคือคนที่ยังไม่เคยผ่านการเป็นตำรวจมาก่อน และบุคคลภายในคือคนที่เป็นตำรวจอยู่แล้ว
หากต้องการเป็นพนักงานสอบสวนจำเป็นต้องจบจากปริญญาตรีจากนิติศาสตร์บัณฑิตเป็นอย่างน้อยเท่านั้น โดยจะไม่มีการจำกัดเกรดเฉลี่ย ขอเพียงแค่จบนิติศาสตร์บัณฑิตก็เพียงพอ ดังที่ได้กล่าวไป การเป็นพนักงานสอบสวนจะต้องรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมายพอสมควร
มาถึงตรงนี้หากใครที่ไม่ได้เรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิตมาอาจจะรู้สึกผิดหวัง แต่หากอยากเป็นตำรวจจริง ๆ ก็อย่าเพิ่งหมดหวังไป เพราะอาชีพนี้ยังมีตำแหน่งหลายตำแหน่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญาตรีทางนิติศาสตร์บัณฑิต หากอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมล่ะก็ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ อยากเป็นตำรวจ ได้เลย
การสอบเป็นพนักงานสอบสวนมีวิชาอะไรบ้าง
สำหรับการเตรียมตัวสอบเป็นพนักงานสอบสวน รายวิชาที่ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบก็จะมีดังต่อไปนี้ โดยจะมีการแบ่งการสอบออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นการสอบเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ได้แก่
- คณิตศาสตร์ 30 ข้อ
- ภาษาไทย 20 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นการสอบความรู้เฉพาะทาง ได้แก่
- ประมวลกฎหมายอาญา 25 ข้อ
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 25 ข้อ
- กฎหมายลักษณะพยาน 25 ข้อ
- พรบ. วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 และความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน 10 ข้อ
- ภาษาอังกฤษ 15 ข้อ
ทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนรวมทั้งหมดคือ 150 คะแนน เกณฑ์การสอบผ่านของแต่ละส่วนคือ 60 %
ส่วนที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย รวม 50 ข้อ ต้องผ่านรวมกันทั้งหมด 30 ข้อ
ส่วนที่ 2 วิชากฎหมายและวิชาภาษาอังกฤษ รวม 100 ข้อ ต้องผ่านทั้งหมด 60 ข้อ
และจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ที่บังคับทั้ง 2 ส่วน ไม่สามารถผ่านแค่อันใดอันหนึ่งได้ หากผ่านเกณฑ์แค่ส่วนที่ 1 แต่ไม่ผ่านส่วนที่ 2 ก็จะถือว่าไม่ผ่าน
*ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามปีที่สมัคร โปรดตรวจสอบกับเว็บไซต์ที่เปิดรับสมัครอีกครั้ง
คุณสมบัติที่ต้องมีหากอยากเป็นพนักงานสอบสวน
แบ่งตามเกณฑ์การรับสมัครต่อไปนี้
บุคคลภายนอก
- อายุไม่เกิน 35 ปี จนถึงวันปิดรับสมัคร
- ไม่จำกัดเพศ
- เพศชายสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. รอบอกไม่ต่ำกว่า 77 ซม.
- ไม่จำกัดน้ำหนัก และค่าดัชนีมวลกาย [BMI] ต้องไม่เกิน 35 เพราะถ้าหากเกินจะถือว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นโรคต้องห้าม
- วุฒิการศึกษาปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์บัณฑิต แต่ในบางปีอาจเปิดรับเนติบัณฑิตเช่นกัน
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีภาระทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนผันทหาร การเป็นทหารเกณฑ์ หรือผู้ที่จะต้องเกณฑ์ทหาร เว้นแต่ผู้สมัครที่จะปลดประจำการทหารภายในวันที่ได้รับการบรรจุเป็นตำรวจ
บุคคลภายใน
- ไม่จำกัดอายุ
- จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- เป็นตำรวจชั้นประทวนระดับนายสิบขึ้นไป หากมีวุฒิและคุณสมบัติครบ สามารถสอบเลื่อนเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับนายร้อย และเลือกบรรจุเป็นพนักงานสอบสวนได้
สรุป
การเป็นตำรวจอาจจะดูเหมือนยาก แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิด หากอยากเป็นพนักงานสอบสวนหรือสนใจตำรวจสายอาชีพอื่น ๆ แต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร สามารถติดต่อ GovEntrance Police ได้ที่ เว็บไซต์ของ GovEntrance ได้เลย เพราะทางเราติวสอบตำรวจมาหลายรุ่นแล้ว ทั้งยังมีแนวข้อสอบเก่า รวมถึงคอร์สสอนสด คอร์สเฉพาะทางหลายคอร์สให้ทดลองเรียนก่อนด้วย